สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

สรุปและอภิปรายผลการค้นคว้า
จากการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนปากจ่าวิทยาจากคุณครูผาด ครูประจำโรงเรียนปากจ่าวิทยานั้น  จะเห็นได้ว่าโรงเรียนปากจ่าวิทยามีกระบวนการใช้หลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551  ที่ ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี  มีปัญญามีความสุข  มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ 
นอกจากมีจุดหมายที่สอดคล้องกันแล้วทางโรงเรียนยังใช้คุณลักษณะพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนโดยยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ในการใช้โดยไม่มีการเพิ่มเติมใดๆ นอกจากนี้แล้วทางโรงเรียนปากจ่าวิทยา  ยังมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นบริเวณนั้นและมีการเพิ่มรายวิชาเรียนที่นอกเหนือจากรายวิชาพื้นฐาน  8  วิชา  เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ให้กับนักเรียนในรายทักษะที่นักเรียนมีความสนใจ
                หลักสูตรโรงเรียนปากจ่าวิทยา พุทธศักราช 2553 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
                หลักสูตรโรงเรียนปากจ่าวิทยา พุทธศักราช 2553 มีหลักการที่สำคัญดังนี้
1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดมุ่งหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ
3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

                หลักสูตรโรงเรียนปากจ่าวิทยา พุทธศักราช 2553 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้
1.มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.มีความรู้ ความสามรถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
3.มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4.มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่สมกันในสังคมอย่างมีความสุข      
 กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนปากจ่าวิทยามีลักษณะสอดคล้องกับที่ได้เรียนมาการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้
เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ
-ฝ่ายบริหาร ฝ่ายครูผู้สอน-ผู้ปกครอง-ชุมชน
มีการดำเนินการ 2ส่วน คือ
การดำเนินการระดับสถานศึกษา:ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ เพื่อพิจารณาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งแนวปฏิบัติต่างๆ
การดำเนินการระดับชั้นเรียน : โดยครูผู้สอน ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน
ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
1.แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน : คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน
2.วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ : มีแหล่งข้อมูลสำคัญมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อาทิ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น ข้อมูลจากการวิเคราะห์ สภาพ ปัญหา จุดเน้น ความต้องการขอชุมชนและของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ตลอดจนความต้องการของผู้เรียน
3.จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา : พิจารณาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญได้แก่
-วิสัยทัศน์
-สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
-คุณลักษณะอันพึงประสงค์
-โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา (เวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน/เพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)
-คำอธิบายรายวิชา
-เกณฑ์การจบหลักสูตร
-เอกสารระเบียบการวักผลประเมินผล
4. คณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้เห็นความชอบ
-นำเสนอร่างเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา และระเบียบการวัด ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้เห็นนความชอบ
-นำข้อเสนอแนะพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความเหมาะสม ชัดเจนยิ่งขึ้น
-อนุมัติการใช้หลักสูตรจากคณะกรรมการสถานศึกษา
-จัดทำเป็นประกาศหรือคำสั่งเรื่องให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม
5. ใช้หลักสูตรสถานศึกษา
ครูผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวิชาและออกแบบหน่วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมาย
6. วิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร
ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ เพื่อนำผลจากการติดตามมาใช้เป็นข้อมูลหลักสูตรให้มีคุณภาพ และมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
จากการไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสามบ่อวิทยาจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
โดยทั่วไปแล้วกระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะมีขั้นตอนต่อไปนี้คือ
1.ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
2.การร่างหลักสูตร
-กำหนดจุดมุ่งหมาย
-กำหนดเนื้อหาสาระ
-กำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
-การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล
3.การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
4.การทดลองใช้หลักสูตร
5.ประเมินหลักสูตร
                     จากกระบวนการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวจะแสดงได้ว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนปากจ่าวิทยา      ซึ่งโรงเรียนปากจ่าวิทยามีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนชุมชนว่ามีความต้องการพัฒนาในด้านใด  อย่างเช่น ในชุมชนควนโสคนในชุมชนนั้นมีอาชีพประมงจึงมีการนำเอาอาชีพของคนในชุมชนมาสอดคล้องรายวิชาเพิ่มเติม 
                        นอกจากนี้แล้ว  หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนปากจ่าวิทยา มีความสอดคล้องกับแนวคิดของของไทเลอร์ ซึ่งแนวคิดของไทเลอร์จะสนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร  และกระบวนการการเรียนการสอน และนอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย   และสอดคล้องกับแนวคิดของทาบา โดยทาบาเชื่อว่า ผู้สอนซึ่งเป็นผู้ใช้หลักสูตรควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร ในขณะ เดียวกันโรงเรียนสามบ่อวิทยาก็ได้ให้ผู้ใช้หลักสูตรคือ ครูผู้สอนและนักเรียนมีส่านร่วมในการพัฒนาหลักสูตรด้วย จึงทำให้หลักสูตรสถานศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามหลักสูตรสถานศึกษาของแต่ละโรงเรียนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น บริบทของชุมชน ปัญหาที่พบของแต่ละโรงเรียน  ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนความต้องการของชุมชน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือ หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นของแต่ละโรงเรียนส่วนใหญ่แล้วจะยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2551 เป็นเกณฑ์ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ข้อเสนอแนะ
การเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตรเป็นวิชาที่ต้องทำความเข้าใจและเนื้อหาค่อนข้างมาก การเรียนการน่าจะมีผู้สอนหรือผู้ให้คำแนะนำเพียงคนเดียวเพื่อป้องกันความสับสนและมีความสะดวกในการติดต่อ ขอคำแนะนำต่างๆ


ขอขอบคุณคณะอาจารย์โรงเรียนปากจ่าวิทยาที่ให้ความรู้เกี่ยวหลักสูตรสถานศึกษาและเอื้อเฟื้อสถานที่ในการถ่ายทำ

ขอขอบพระคุณ
อาจารย์ณรงค์ กาญจนะ
อาจารย์วิภาพรรณ
ที่ปรึกษาการทำงานมาโดยตลอด