ผลการศึกษาค้นคว้า



http://www.youtube.com/watch?v=Ou2Fhqenh2o

จากการถอดเทปบทสัมภาษณ์
                                                            


ผู้สัมภาษณ์ : บริบท/ลักษณะของชุมชนหรือท้องถิ่นที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียนเป็นอย่างไร และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรอย่างไรบ้าง


คุณครู : ชุมชนที่อยู่รอบๆเป็นชุมชนที่อยู่กันแบบเครือญาติประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพประมงขนาดเล็กผู้ปกครองส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา ความรู้ยังไม่ค่อยกว้างไกลเวลามีกิจกรรมทางโรงเรียนก็จะเชิญผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมแต่ผู้ปกครองยังไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา




ผู้สัมภาษณ์ : การพัฒนาหลักสูตรจากหลักสูตรแกนกลางปี51สู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนของท่านมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอะไร อย่างไร แต่ละกระบวนการมีอุปสรรค/ปัญหาอะไร และแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร


คุณครู : บริเวณรอบๆหรือผู้ปกครองจะเข้ามาติดต่อกับโรงเรียนมีผู้ใหญ่บ้าน อบต. กรรมการสถานศึกษาจะเข้ามาติดต่อกับโรงเรียนเวลาที่นักเรียนมีปัญหาก็จะมีการเชิญผู้ปกครองมารับรู้ปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา คนในท้องถิ่นจะเข้ามาช่วยทำกิจกรรมมากกว่าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร




ผู้สัมภาษณ์ : ในแต่ละชั้นปี มีรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอะไรบ้างที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน และจุดเน้นของสถานศึกษาที่จัดรายวิชาเพิ่มเติมคืออะไร


คุณครู : ใช้หลักสูตรแกนกลางเป็นหลัก หลักสูตรแกนกลางจะมีสาระการเรียนรู้อยู่8กลุ่มสาระจะมีสาระเพิ่มเติม โรงเรียนจะเน้นการทำงาน การนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ หรือว่านำไปใช้ในการเรียนต่อสายอาชีพได้ เพราะเด็กในชนบทจะไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตในสังคมเมืองเหมือนกับเด็กที่อยู่ในเมือง ทางโรงเรียนจึงเพิ่มเติมรายวิชาการพัฒนาชีวิตเข้าไปด้วย




ผู้สัมภาษณ์ : นอกจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง8ด้านและสมรรถนะสำคัญทั้ง5ด้านแล้ว หลักสูตรสถานศึกษาได้เพิ่มคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้ามีการเพิ่มเติม พิจารณาจากเกณฑ์หรือสิ่งใด


คุณครู : ม.1วิชาเสริม มีเขียนแบบ,ช่างเชื่อมไฟฟ้า,ปลูกผัก,คอมพิวเตอร์,ศิลปะ(มโนราห์)
มีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงป่าเสม็ด ตอนนี้ก็กำลังดำเนินการสอนอยู่
มีอุปกรณ์การจับปลา การทำประมงขนาดเล็ก ตอนนี้ก็ไม่ค่อยได้ทำการสอนแล้ว เพราะเด็กไม่ค่อยให้ความสนใจเพราะได้คลุกคลีอยู่กับสิ่งเหล่านี้มานาน เด็กจะสนใจที่จะเลือกวิชาเรียนอี่นมากกว่า
ส่วนม.อื่นก็จะเน้นเกี่ยวกับช่าง
ถ้าเป็นในม.ปลายจะเปิดสายวิทย์-ศิลป์ สายวิทย์เด็กจะไม่ค่อยได้เรียน มีฟิสิกส์ เคมี ชีวฯ ส่วนสายศิลป์จะมี สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามา




ผู้สัมภาษณ์ : โรงเรียนจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆอะไรบ้างที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน


คุณครู : กิจกรรมเพิ่มเติมของหลักสูตรแกนกลางปี51จะมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น จากแต่ก่อนมีกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตอนนี้จะเพิ่มกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โรงเรียนจะจัดเวลาให้นักเรียนทำกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การพัฒนาโรงเรียน การให้เด็กเข้าวัด





1. ข้อมูลทั่วไป
โรงเรียนปากจ่าวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 5 บ้านปากจ่า ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90220 โทรศัพท์ 074 – 318046


2. ประวัติโดยย่อ
โรงเรียนปากจ่าวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 5 บ้านปากจ่า ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 โดยในขณะนั้นยังเป็นโรงเรียน สาขา ของโรงเรียนควนเนียงวิทยา โดยมีนักเรียนเข้าเรียนรุ่นแรก 82 คน มีครู ทำหน้าที่สอนประจำ 3 คน และได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนควนเนียงวิทยา สนับสนุนบุคลากร และสื่อการสอน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากท่านพระครูสิริธรรมาภินันท์เจ้าอาวาสวัดปากจ่าให้ใช้สถานที่และอาคารบางส่วนของวัดปากจ่าจัดทำเป็นห้องเรียนชั่วคราว และสถานที่จัดการเรียนการสอน แต่กระนั้นโรงเรียนได้ทำเรื่องขออนุญาตใช้พื้นที่บางส่วนของป่าสงวนแห่งชาติ ทุ่งบางนกออก เพื่อใช้จัดตั้งโรงเรียน ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี โดยกรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ของป่าสงวนแห่งชาติ ในการจัดตั้งโรงเรียนการจัดการเรียนสอนของโรงเรียน เป็นไปด้วยอุปสรรค และปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลากรหรือวัสดุสิ่งของที่จะใช้ในการอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากโรงเรียนควนเนียงวิทยาและโรงเรียนอื่นๆที่อยู่ในสังกัดกรมสามัญศึกษาในขณะนั้นประกอบกับบุคลากรในโรงเรียนก็มีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงาน และทำการสอน เพื่อเป็นการขยายโอกาสให้กับเยาวชนในชุมชนโดยรอบรอบโรงเรียน ซึ่งเป็นชุมชนที่ค่อนข้างขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะเป็นชุมชนที่มีมาตรฐานทางด้านเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ เยาวชนส่วนใหญ่หลังจากจบการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วก็ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นมาในชุมชน จึงเหมือนเป็นการมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชน นักเรียนมีโอกาสได้เรียนสูงขึ้น
ปีการศึกษา 2540 วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2540 โรงเรียนควนเนียงวิทยาสาขา ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น ให้จัดตั้งเป็น โรงเรียนปากจ่าวิทยา โดยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาลำดับที่ 44 ของจังหวัดสงขลา พร้อมกับได้จัดสรรอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 1 หลัง ขนาด 5 ห้องเรียนมาเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าจะได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนปากจ่าวิทยาแล้วก็ตาม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนก็ยังดำเนินไปอย่างยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง อาคาร สถานที่ ที่ไม่เพียงพอต่อนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี บุคลากรปฏิบัติการสอน สื่อ และวัสดุการเรียนการสอน ก็ได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานราชการต่างๆ จนทำให้โรงเรียนดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลดีต่อเยวาชนในโรงเรียน
ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนปากจ่าวิทยา เปิดทำการเรียนการสอนนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – 6) โดยมีนักเรียนเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรก 35 คน และมีนักเรียนเข้าเรียนในทุกๆ
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนปากจ่าวิทยา ได้รับอนุมัติจัดสรรอาคารเรียน แบบ 216 ล. จำนวน 1 หลัง ขนาด 16 ห้องเรียน โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2547 ซึ่งอาคารที่ได้รับการจัดสรรมาให้จะสามารถอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากอาคาเรียนแล้วยังได้รับการจัดสรร สนามกีฬาบาสเกตบอล ห้องน้ำห้องส้วม บ้านพักครูอาจารย์ ภารโรง ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ปีการศึกษา 2547 หลังจากที่โรงเรียนมีความพร้อมในเรื่องอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยวามสะดวกอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น โรงเรียนก็ได้รับความไว้วางใจจากชุมชน และผู้ปกครองนักเรียน ส่งบุตรหลานมาเรียนมากขึ้นตามลำดับ ถึงแม้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านโรงเรียนปากจ่าวิทยา ต้องจัดการศึกษาของโรงเรียนภายในความขาดแคลน แต่อาศัยความร่วมแรงร่วมใจของบุคลากร ครูอาจารย์ นักเรียน และประสานความร่วมมือจากชุมชน จึงทำให้โรงเรียนสามารถที่จะจัดการศึกษาเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ให้บริการประสานความร่วม และเป็นประโยชน์แก่เยาวชนในพื้นที่
ปัจจุบันโรงเรียนปากจ่าวิทยา ทำการสอน 1 ระดับ คือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
3. ทิศทางของสถานศึกษา
- อักษรย่อประจำโรงเรียน
ป.จ. หมายถึง ปากจ่าวิทยา
- คำขวัญประจำโรงเรียน
สามัคคีนำ - เลิศล้ำวิชาการ - ประสานคุณธรรม
- ปรัชญาโรงเรียน
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต หมายถึง ปัญญาเป็นแสงสว่างแห่งโลก
- สีประจำโรงเรียน
แดง – น้ำเงิน
แดง หมายถึง ความอดทน เข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด
น้ำเงิน หมายถึง ความสงบ ความร่มรื่น การอนุรักษ์ธรรมชาติ รักในความเป็น ประชาธิปไตย
- วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
1. เป็นสถานฯ ฟูมฟักคุณธรรม
2. เป็นสถานฯ เลิศล้ำแหล่งเรียนรู้
3. เป็นสถานฯ เชิดชูภูมิปัญญา
4. เป็นสถานฯ ล้ำค่าเศรษฐกิจพอเพียง
- พันธกิจ
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนา ร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนัก เห็นคุณค่า และความสำคัญในการดำเนินชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและเผยแพร่สู่ชุมชน
2. จัดบรรยากาศ แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนและชุมชน
- เป้าประสงค์
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่า และความสำคัญ
ของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
สามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน



จากการที่ได้ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนปากจ่าวิทยา สรุปผลการศึกษาค้นคว้าได้ดังนี้
1. ได้รู้ว่าแต่ละสถานศึกษาจะมีหลักสูตรที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าสถานศึกษาไหนจะสามารถปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้มากน้อยเพียงใด
2. ได้รู้ทักษะและกระบวนการการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนปากจ่าวิทยา
3. ได้รู้ถึงอุปสรรคและปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร
4. ได้รู้ว่าการที่เราจะพัฒนาหลักสูตรจะต้องอาศัยปัจจัยภายนอกร่วมด้วย คือ ชุมชนหรือผู้นำชุมชน ก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมกับโรงเรียน
 5. ได้ทราบประวัติ ความเป็นมา ของโรงเรียนปากจ่าวิทยา