วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บรรณานุกรม

นพเก้า ณ พัทลุง . การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ [ม.ป.ท]

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2521) .หลักสูตรใหม่ .กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

สุทธนู ศรีไสย์.(2551) .การจัดการและการวางแผนพัฒนาหลักสูตร . พิมพ์ครั้งที่ 5 .จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี . (2542) . ทฤษฎีหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ ฯ : พัฒนาศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด  . (2546) . การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพ ฯ : สุวีริยาสาส์น.

สงัด อุทรานันท์ . (2532) . พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร . กรุงเทพ ฯ : ม มิตรสยาม.

องค์ประกอบของหลักสูตร



http://www.youtube.com/watch?v=iQt1kz599LI

นักการศึกษาของไทยมีความเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักสูตร ดังนี้
                ธำรง (2542) กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตร ดังนี้
                1. เป้าประสงค์และนโยบายการศึกษา (education goals and policies) หมายถึง สิ่งที่รัฐต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา
                2. จุดหมายของหลักสูตร (curriculum aims) หมายถึง ผลส่วนรวมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน หลังจากหลักสูตรไปแล้ว
                3. รูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร (types and structures) หมายถึง ลักษณะและแผนผังที่แสดงการแจกแจงวิชาหรือกลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการ
                4. จุดประสงค์ของวิชา (subject objective) หมายถึง ผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนวิชานั้นไปแล้ว
                5. เนื้อหา (content) หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทักษะและความสามารถที่ต้องการให้มี รวมทั้งประสบการณ์ที่ต้องการให้ได้รับ
                6. จุดประสงค์ของการเรียนรู้ (instructional objective) หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้มีทักษะและความสามารถหลังจากที่ได้เรียนรู้เนื้อหาที่ได้กำหนดไว้
                7. ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน (instructional strategies) หมายถึง วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและมีหลักเกณฑ์ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้
                8. การประเมินผล (evaluation) หมายถึง การประเมินผลการเรียนรู้เพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียน
การสอนและหลักสูตร
                9. วัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (curriculum materials and instructional media) หมายถึง เอกสารสิ่งพิมพ์ แผ่นฟิล์ม แถบวีดีทัศน์ ฯลฯ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา      เทคโนโลยีการศึกษาอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพการเรียนการสอน
                กรมวิชาการ (2542) สรุปองค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรไว้ดังนี้
                1.  จุดมุ่งหมายได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร วัตถุประสงค์ทั่วไป วัตถุประสงค์เฉพาะวิชา จุดประสงค์การเรียนการสอน
                2. เนื้อหาและประสบการณ์ ซึ่งจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะ  อันพึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมาย
                3. กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นองค์ประกอบในกระบวนการจัดการเรียนการสอนควรมีลักษณะเป็นกระบวนการ
                4. การนำหลักสูตรไปใช้ มุ่งไปที่การแปลงหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนในระดับโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้
                5. การประเมิลผล ประกอบด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน และการประเมินหลักสูตร
                รุจิร์ (2545) กล่าวว่า องค์ประกอบของหลักสูตร คือ ส่วนที่อยู่ภายใน และประกอบเข้ากันเป็นหลักสูตร เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ความหมายของหลักสูตรสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน        การประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรไปด้วย
                บุญชม (2546) กล่าวว่า หลักสูตรมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 องค์ประกอบ คือ จุดประสงค์  สาระความรู้ประสบการณ์  กระบวนการเรียนการสอน  และการประเมินผล
                จากความหมายของหลักสูตร ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารและการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนกับการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจจำแนกองค์ประกอบของหลักสูตรเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นเอกสาร  ซึ่งประกอบด้วย จุดมุ่งหมายและเนื้อหา และส่วนของการจัดการเรียนรู้  ซึ่งประกอบด้วยการนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผลหลักสูตร      ตามรายละเอียด ดังนี้
                1. จุดมุ่งหมาย (objective) คือ สิ่งที่หลักสูตรต้องการให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากที่จบหลักสูตรไปแล้ว หรืออาจกล่าวว่าเป็นความคาดหวังของหลักสูตรก็ได้
                2. เนื้อหา (contents) คือ สิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
                3. การนำหลักสูตรไปใช้ (curriculum implementation) คือ การนำเอกสารหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติจริง
                4. การประเมินผล (evaluation) คือ การตรวจสอบว่าหลักสูตรนั้นบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด