วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

กำลังสร้าง

ผลการวิจัย

กำลังสร้าง

วิธีการดำเนินงาน

   
   วิธีการดำเนินงาน
1. ส่งหนังสือไปยังสถานศึกษาที่ต้องการศึกษาหลักสูตร
 2. ประชุมวางแผน สร้างเครื่องมืออุปกรณ์ในการสร้างแบบสัมภาษณ์
3. ไปศึกษานอกสถานที่ ณ โรงเรียนปากจ่าวิทยา
     3.1 บันทึกวีดีทัศน์ ผู้อำนวยการ ครูที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา
        3.2 บันทึกภาพนิ่ง
        3.3 ศึกษาหลักสูตร
 4. วิเคราะห์ผลการศึกษา
 5. นำเสนอผลการศึกษา

ปัจจัยที่มีผล

กำลังสร้าง

กระบวนการพัฒนา



http://www.youtube.com/watch?v=fxg8Zr-lJEI

การพัฒนาหลักสูตร
                การพัฒนาหลักสูตรมีความหมาย 2 ลักษณะ หมายถึง การสร้างหลักสูตรขึ้นใหม่โดยที่ยังไม่มีหลักสูตรมาก่อน  ลักษณะที่สองหมายถึงการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมหรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่นำหลักสูตรไปใช้ด้วย
                การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่เป็นระบบ ตามที่ นักวิชาการได้กล่าวไว้ในลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
                Henson (2001) กล่าวถึงรูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ ทาบา (Taba ’s Invert Model) ซึ่งเริ่มต้นการพัฒนาหลักสูตรในชั้นเรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบอื่น ๆ ที่เริ่มต้นการพัฒนาหลักสูตรจากหน่วยงานกลางของรัฐ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
                1. วินิจฉัยความต้องการ การใช้เครื่องมือประเมินผลความต้องการ
               2. กำหนดลักษณะเฉพาะของจุดประสงค์รวมทั้งมโนทัศน์และเจตคติของผู้เรียน วิธีการคิด คุณลักษณะและทักษะที่พึงประสงค์
                3. เลือกเนื้อหาอย่างรอบคอบ และเขียนเหตุผลในการเลือกเนื้อหานั้น
                4. จัดระบบเนื้อหาจากง่ายไปยาก
                5. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
                6. จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของผู้เรียน
                7. การประเมินผลหน่วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
                8. ตรวจสอบความสมดุลระหว่างภาระงานต่าง ๆ และความต่อเนื่องของเนื้อหา เพื่อรับรองว่ากิจกรรมให้โอกาสผู้เรียนในการเรียนรู้วิธีเชื่อมโยงความรู้
                นฤมล (2548) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของ Ralph Tyler ไว้ดังนี้
                1. กำหนดจุดมุ่งหมาย
                2. เลือกแนวทางเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย
                3. จัดแนวทางเหล่านั้น
                4. ประเมินผลที่ได้รับ
                Saylor amd Alexander (อ้างอิงใน สุนีย์.2546) ได้ศึกษาแนวคิด และรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ
ไทเลอร์ และทาบา และนำมาปรับขยายให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้
                1. กำหนดเป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และขอบเขต (goals, objectives, and domains) นักพัฒนาหลักสูตรควรกำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นสิ่งแรก เป้าหมายในแต่ละประเด็นควรบ่งบอกเพียงขอบเขตหนึ่งของหลักสูตร (a  curriculum domain) ซึ่งได้เสนอขอบเขต 4 ขอบเขตที่สำคัญที่ควรให้ความสนใจ ซึ่งได้แก่ พัฒนาการส่วนบุคคล (personal development) มนุษย์สัมพันธ์ (human relation) ทักษะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง (continued learning skills และความชำนาญเฉพาะด้าน(specialization)อย่างไรก็ตามอาจมีขอบเขตที่สำคัญอื่นๆ อีก  ซึ่งอาจจะพิจารณาตามความเหมาะสมกับผู้เรียน และลักษณะของสังคม
                เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และขอบเขตต่าง ๆ จะได้รับคัดเลือกจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก (external variables) อย่างรอบคอบ ตัวแปรดังกล่าวได้แก่ ทัศนะและความต้องการของสังคม ข้อบังคับทางกฎหมายของรัฐ และข้อการค้นพบการวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนปรัชญาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร เป็นต้น
                2. การออกแบบหลักสูตร (curriculum design) นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องวางแผนออกแบบหลักสูตร ตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกการจัดเนื้อหาสาระ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่ได้เลือกมาแล้ว
                3. การใช้หลักสูตร (curriculum implementation) เป็นขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้ โดยครูผู้สอนควรวางแผนและจัดทำแผนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเลือกวิธีการสอน และวัสดุ สื่อการเรียนการสอน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
                4. การประเมินผลหลักสูตร (curriculum evaluation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของรูปแบบนี้ นักพัฒนาหลักสูตร และครูผู้สอนจะต้องตัดสินใจเลือกเทคนิคการประเมินผลที่สามารถตรวจสอบความสำเร็จของหลักสูตรว่าบรรลุเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขหรือควรยกเลิกหลักสูตรดังกล่าว
                Parkay and Hass (2000) กล่าวว่า หลักสูตรเป็นแผนสำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งได้มาจากการประเมินความต้องการ และการเขียนพันธกิจ (mission) เป้าหมาย จุดประสงค์ เนื้อหากลวิธีการสอน รวมทั้งการประเมินผล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
               1. การวางแผนหลักสูตร คือ กระบวนการรวบรวม จำแนกสังเคราะห์ และเลือกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน ข้อมูลนี้ใช้ออกแบบประสบการณ์ที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร
               2.การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรได้รับพิจารณาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของสังคม การพัฒนามนุษย์ การเรียนรู้ และพุทธิปัญญา
               3. การตัดสินใจในขณะวางแผนหลักสูตรอย่างรอบคอบและเชื่อมโยงไปยังเกณฑ์ (criteria)
             4. การวางแผนการสอน คือ กระบวนการหลักของการวางแผนหลักสูตร ผู้สอนควรวางแผนการสอนโดยอาศัยแนวทางจากทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวของกับอิทธิพลของสังคม การพัฒนามนุษย์ การเรียนรู้ และพุทธิปัญญา หลักสูตรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนมารับประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน จากผู้สอน ซึ่งผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรนั้น
                นิรมลและคณะ (2542) ได้กล่าวถึงกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
                1. การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจะกระทำก่อนที่จะลงมือร่างหลักสูตร ข้อมูลที่จะต้องวิเคราะห์และรวบรวม มักจะได้แก่ ปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้ ธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียน ลักษณะของสังคมและวัฒนธรรม
                2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นการกำหนดความคาดหวังว่าผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้จะมีคุณลักษณะอย่างไร และความคาดหวังด้านอื่น ๆ ว่าเมื่อใช้หลักสูตรแล้วจะได้รับผลอะไรบ้าง ซึ่งจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะกำหนดไว้ก่อนที่จะเลือกเนื้อหาสาระบรรจุในหลักสูตร
                3. การเลือกและการจัดลำดับเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หมายถึงการเลือกจัดเนื้อหาความรู้จะเลือกจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเรียนและเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งคุณลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                4. การกำหนดแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ การกำหนดวิธีการที่จะตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละวิชาตลอดจนหลักสูตรแล้วหรือยัง
                5. การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรและปรับแก้ก่อนนำไปใช้ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรที่ร่างเสร็จแล้ว และปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก่อนนำไปใช้จริง ซึ่งอาจจะใช้วิธีการประชุมสัมมนา ให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงตรวจสอบหรืออาจทำการวิจัยเอกสารหลักสูตร ตลอดจนการทดลองใช้หลักสูตรแบบนำร่อง โดยมีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการทดลองในแต่ละระยะอย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลแล้วปรับแก้ให้ชัดเจนขึ้น
                6. การนำหลักสูตรไปใช้ คือ การนำหลักสูตรไปลงมือปฏิบัติ หรือนำหลักสูตรไปจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการของการจัดการเรียนการสอนนั่นเอง
                7. การประเมินผลการใช้หลักสูตร เป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตรที่นำไปใช้แล้วนั้นบรรลุจุดมุ่งหมายทั้งหมดหรือมากน้อยเพียงใด
                8. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร จะกระทำเมื่อเรารู้ผลจากการประเมินผลการใช้หลักสูตรแล้ว ถ้าพบข้อบกพร่องก็จะต้องมีการปรับปรุงหรือแก้ไขหลักสูตร
                สรุปได้ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยทั่วไปสอดคล้องกับองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ  1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตร  2) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  3) กำหนดเนื้อหาของหลักสูตร  4) นำหลักสูตรไปใช้  5) ประเมินหลักสูตร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

ประเภท



http://www.youtube.com/watch?v=VkTsTwBKLY0

หลักสูตรอาจจำแนกได้หลายประเภท โดยอาศัยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ตามที่  ดุษฎี (2437) ได้กล่าวถึง ลักษณะของหลักสูตรไว้ ดังนี้
                1. กลุ่มที่จำแนกตามหมวดหมู่เนื้อหาสาระ  กลุ่มนี้แยกหลักสูตรออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
                                1.1 หลักสูตรรายวิชา (discrete – discipline curriculum ,subject matter ,curriculum ,separate – suvject curriculum) หลักสูตรประเภทนี้จัดประสบการณ์ส่วนใหญ่เรียงลำดับความยากง่ายเป็นรายวิชาย่อย ๆ แยกต่างหากจากกัน
                                1.2 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (correlate curriculum) หลักสูตรประเภทนี้ จัดประสบการณ์เป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยจัดรายวิชาย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกัน แต่ยังคงความเป็นรายวิชาย่อยอยู่
                                1.3 หลักสูตรหมวดวิชา (broad – fields curriculum ,fused curriculum) หลักสูตรประเภทนี้คล้ายกับหลักสูตรสัมพันธ์วิชา แต่จัดรายวิชาที่คิดว่าเป็นจำพวกเดียวกันเข้าไว้ด้วยดันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น
                                1.4 หลักสูตรแกน (core curriculum) หลักสูตรประเภทนี้ยกสาระจำนวนหนึ่งในหลักสูตรนั้นขึ้นเป็นแกนในขณะที่สาระอื่นเป็นส่วนประกอบ
                                1.5 หลักสูตรบูรณาการ (integrated curriculum) หลักสูตรประเภทนี้รวมประสบการณ์ทุกสาระวิชามาสัมพันธ์กันจนไม่ปรากฏเด่นชัดว่าเป็นวิชาใด จัดเป็นประสบการณ์ต่อเนื่อง หลักสูตรเช่นนี้อาจอาศัยประเด็นหรือปัญหาบางอย่างเป็นแกน แล้วหลอมทุกสาระวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน
                การจัดหมวดหมู่เนื้อหาสาระในหลักสูตรเช่นนี้ คลี่คลายตามมวลความรู้ที่มนุษย์มีอยู่ในช่วงที่มวลความรู้น้อย  การจัดประสบการณ์เป็นรายวิชาย่อยๆ ช่วยให้มนุษย์ได้เรียนรู้อย่างละเอียด ครั้นวิชาต่าง ๆ สะสมมวลความรู้และแยกวิชาออกไปมาก ซึ่งเท่ากับแยกมวลความรู้ในชีวิตมนุษย์ให้ลึกลงไปในแต่ละส่วนเสี้ยว ดังนั้น ในระยะเวลาอันจำกัดของหลังสูตรหนึ่ง ๆ จึงหลอมวิชาย่อย ๆ ให้เป็นกลุ่ม เป็นหมวด เป็นหน่วย ทั้งนี้เพื่อสำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมายของหลักสูตร คือ มนุษย์ได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตทุกส่วน
                2. กลุ่มที่จำแนกตามบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน  กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนการสอนแทนที่จะพิจารณาการจัดเนื้อหาสาระดังการจำแนกในกลุ่มที่ 1 การจำแนกตามเกณฑ์นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
                                2.1 หลักสูตรที่เน้นสาระวิชา (subject – centered curriculum) หลักสูตรประเภทนี้เน้นบทบาทของผู้สอนในการถ่ายทอดสาระวิชาอาจกล่าวได้ว่าความเชื่อที่แฝงอยู่ในการจัดหลักสูตรประเภทนี้ คือ หากการสอนมีประสิทธิภาพผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้
                                2.2 หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (child - centered curriculum) หลักสูตรประเภทนี้เน้นบทบาทของผู้เรียนในการเรียน อาจกล่าวได้ว่าความเชื่อที่แฝงอยู่ในการจัดหลักสูตรประเภทนี้คือผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเรียนอย่างมีส่วนร่วม ลงมือทำเอง เข้าหลัก Learning by doing
                หากเปรียบเทียบการจัดประเภทของหลักสูตรตามแนวนี้กับแนวที่ 1 อาจกล่าวได้ว่าหลักสูตรที่เน้นสาระวิชา น่าจะมีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระเป็นรายวิชา ในขณะที่หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนน่าจะจัดหมวดประสบการณ์ในลักษณะบูรณาการหรือสหวิทยาการ (interdisciplinary curriculum)
                3. กลุ่มที่จำแนกตามเกณฑ์ประสบการณ์ที่ยึด  กลุ่มนี้แยกหลักสูตรออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
                                3.1 หลักสูตรเน้นกระบวนการทางสังคมและการดำเนินชีวิต (curriculum base on social process and life fumction) อาจกล่าวได้ว่าหลักสูตรประเภทนี้เป็นหลักสูตรบูรณาการสาระโดยยึดสถานการณ์ที่ผู้เรียนเผชิญอยู่ สถานการณ์ที่ว่านี้ ได้แก่  การดำรงชีวิตโดยส่วนตัว การดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อม โดยที่สิ่งแวดล้อมที่ว่านี้แยกเป็น ส่วนที่เป็นสังคม ส่วนที่ไม่ใช่สังคม
                                3.2 หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมและประสบการณ์ (the activity and experience curriculum) หลักสูตรประเภทนี้เป็นหลักสูตรบูรณาการสาระ เช่นเดียวกับหลักสูตรเน้นกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิตแต่เน้นให้ผู้เรียน ได้ทำกิจกรรมและมีประสบการณ์ด้วยตนเอง
                                3.3 หลักสูตรเอกัตภาพ (individualized curriculum, the personalized curriculum) หลักสูตรประเภทนี้ก็เป็นหลักสูตรบูรณาการสาระอีกประเภทหนึ่ง แต่เป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการเรียนเป็นรายบุคคล ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเป็นอิสระจากคนอื่น หลักสูตรประเภทนี้ผู้สอนจะเป็นผู้จัดประสบการณ์แก่ผู้เรียนแต่เพียงลำพัง หรือร่วมกันจัดกับผู้เรียนก็ได้
                หากเปรียบเทียบการจัดประเภทของหลักสูตรตามแนวนี้กับสองแนวแรก อาจกล่าวได้ว่าการจำแนกตามสองแนวแรก มีลักษณะใกล้เคียงกันมากกว่า ในขณะที่การจำแยกตามเกณฑ์ที่สามนี้คล้ายกับเป็นการจำแนกหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนตามแนวที่สองออกไปอีก สุดแต่ว่ามองมิติใดของผู้เรียนเป็นหลัก
                สรุปว่าหลักสูตรมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งหลักสูตรประเภทต่าง ๆ มีลักษณะข้อดีและข้อจำกัดภายในตัวเอง ดังนั้นนักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ก่อนเลือกประเภทและพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อจะส่งผลให้หลักสูตรนั้นมีคุณค่า ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อไป
กำลังสร้าง

ความสำคัญ




http://www.youtube.com/watch?v=toWx4y10ofk


หลักสูตรของสถานศึกษาแต่ละแห่งมีความสำคัญมาก เพราะหลักสูตรแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของสถานศึกษานั้น ๆ และหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย โดยหลักสูตรมีความสำคัญ ดังนี้
                1. พัฒนาคนในสังคมให้มีคุณลักษณะที่คาดหวัง
                2. เป็นเครื่องมือจัดการศึกษาให้บรรลุผลตามเป้าหมาย และเสริมความเจริญงอกงามของบุคคลให้มีพฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรม รากฐานความคิดที่สอดคล้องกับ   เศรษฐกิจ   การเมือง   การปกครอง
                3. ผู้เขียนสามารถค้นพบความสนใจ   ความถนัดของตนเอง   และสามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ
                4. เป็นโครงการ แผนงานหรือข้อกำหนด   ที่ชี้แนะให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม
กำลังสร้าง

ความหมาย




http://www.youtube.com/watch?v=wauOFq_VeCU
                หลักสูตร มาจากภาษาอังกฤษ คือ  “Curriculum”   คำนี้มีรากศัพท์เดิมมาจากคำในภาษาละติน“Currere”แปลว่าทางวิ่ง  หรือ ลู่ที่นักกีฬาวิ่งเข้าสู้เส้นชัย (R.C. Das ,et at, NCERT, 1984 : 4)  เมื่อนำมาใช้ในทางการศึกษาได้มีผู้ให้คำนิยามในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
                แฟลงกลิน  บอบบิตต์ (Franklin  Bobbitt, 1918)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักสูตรเป็นรายวิชาหรือเนื้อหาที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียน
                วีลเลอร์ (Wheele, 1974 : 11) ให้ความเห็นไว้ว่า หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์เรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนหรือสถานศึกษาจัดให้กับผู้เรียน
                กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2521 : 1) หลักสูตร คือ ข้อกำหนดว่าด้วย จุดหมาย แนวทาง วิธีการ และเนื้อหาสาระ ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ทัศนคติ และ พฤติกรรม ตามที่กำหนดในจุดมุ่งหมายของการศึกษา
                ราชบัณฑิตยสถาน (2546) ได้ให้คำนิยามหลักสูตรว่า หมายถึง ประมวลวิชา และกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
                สรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึง แนวทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ใสจุดมุ่งหมายของการศึกษา จะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร หรือกิจกรรมต่าง ๆ หรือทั้งสองอย่างก็ได้

บทนำ

กำลังสร้าง

เริ่มแรกเรียนรู้ blogger

กำลังเรียนรู้